Call us : 038-102561-62
Mail us : research@buu.ac.th

Infographic

เทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล >>> Reverse Osmosis (RO)

ชื่อผลงาน : การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลด้วยเทคโนโลยี Reverse Osmosis(RO) และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากน้ำทะเลเข้มข้นสูงเชิงพาณิชย์
นักวิจัย : ผศ.ดร.วศิน ยุวนะเตมีย์
ดร.บัลลังก์ เนื่องแสง
ว่าที่ร้อยตรีพิสุทธิ์ เทศสวัสดิ์
นายธีระศักดิ์ สโมสร
นายฉัตรดนัย ไชยหาญ
(คณะเทคโนโลยีทางทะเล วิทยาเขตจันทบุรี)
ผลผลิตงานวิจัย : การนำกระบวนการ RO มาพัฒนาสำหรับตอบโจทย์ปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ทําการเกษตรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและได้รับผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องในอนาคต รวมถึงการนําน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นสูงมาก (brine) ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดโดยกระบวนการ RO มาใช้ประโยชน์ เพื่อลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

Innovation for eco-gardening ได้รับรางวัล รางวัล Bronze Medal จากการเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีระดับนานาชาติ “The 47th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส

ชื่อผลงาน : Innovation for eco-gardening
นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร. สุปราณี แก้วภิรมย์
คณะวิทยาศาสตร์
ผลผลิตงานวิจัย : “BUU BioPot” กระถางย่อยสลายได้จากวัตถุดิบจากธรรมชาติผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ทางเลือกในการช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์กลายเป็นอินทรีย์วัตถุและปุ๋ยหมักช่วยบำรุงดิน โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยจัดการปัญหาขยะที่เกิดจากการเกษตร และแปลงของเหลือทิ้งจากการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้มีมูลค่า เป็นการสร้างรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น (Turn waste into wealth)
(อนุสิทธิบัตรไทย เลขที่คำขอ TH1803002892 สูตรคอมพาวด์พลาสติกผสมวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพ)
“FerGel” ปุ๋ยเคมีชนิดควบคุมการปลดปล่อยได้ ผลิตจากไคโตซานจากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูปกุ้ง โดยปุ๋ยชนิดนี้จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้าๆ ในสัดส่วนของธาตุอาหารและปริมาณที่กำหนดไว้ ธาตุอาหารที่ปลดปล่อยออกมาจึงถูกพืชนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับน้ำของดิน และเมื่อธาตุอาหารถูกปลดปล่อยออกมาจนหมด โครงสร้างที่เหลือจะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(สิทธิบัตรไทย เลขที่คำขอ TH0901001167 ปุ๋ยเคมีชนิดควบคุมการปลดปล่อยได้)

หุ่นยนต์เก็บขยะบนผิวน้ำ

ชื่อผลงาน : หุ่นยนต์เก็บขยะบนผิวน้ำ (Collection Trash Robot on Water Surface)
นักวิจัย : ผศ.ดร.จันทนา ปัญญาวราภรณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลผลิตงานวิจัย : ขยะในแหล่งน้ำเป็นปัญหาที่พบเห็นตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆซึ่งหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบต้องใช้แรงงานคนลงไปเก็บขยะ วิธีดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลที่ลงไปเก็บขยะ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อโรค
จากแหล่งน้ำ หรืออาจะจะเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเก็บขยะ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
– ขยะลอยน้ำอยู่ในระยะตรวจจับของกล้อง หุ่นยนต์ฯเคลื่อนที่อัตโนมัติ
– ขยะลอยน้ำอยู่นอกระยะตรวจจับของกล้อง หุ่นยนต์ฯ สามารถควบคุมการเคลื่อนที่และความเร็วผ่านทาง moblie application
อีกทั้ง ระบบฯ สามารถตรวจจับประเภทขยะโดยใช้หลักการตรวจจับวัตถุในภาพ และหุ่นยนต์ฯ จะเก็บเฉพาะขยะที่ลอยบนผิวน้ำเท่านั้น ขยะมี 2 ประเภท คือ ขวดพลาสติกและถุงพลาสติก เนื่องจากขยะดังกล่าวเป็นขยะที่ใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน 

ระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบ และ ท่อคาปิลลารี่

ชื่อผลงาน : วิธีใหม่ในการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบและท่อคาปิลลารี่สำหรับใช้ในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ
นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.วรเชษฐ์ ภิรมย์ภักดิ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลผลิตงานวิจัย : การทำความเย็นและการปรับอากาศได้ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดไฟฟ้ามากขึ้น

 

การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยนวัตกรรม delayed-action gelling agent เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราภาคตะวันออก

ชื่อผลงาน : การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยนวัตกรรม delayed-action gelling agent เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราภาคตะวันออก
นักวิจัย : ดร. มิยอง ซอ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
คณะศิลปกรรมศาสตร์
ผลผลิตงานวิจัย : การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยนวัตกรรม delayed-action gelling agent เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราภาคตะวันออก ผลลัพธ์ ได้วัสดุจากยางพาราในรูปแบบใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ สามารถเป็นทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าให้ยางพาราในภาคตะวันออก ประเทศไทย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ประดับตกแต่งที่พักอาศัย ผลิตภัณฑ์ทางแฟชั่น เป็นต้น